หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
พุทธประวัติ
พระพุทธศาสนา
บทที่ 1 ศาสนากับสังคมการเผยแผ่พระพุทธศาสนา  
บทที่ 2 พุทธประวัติ พระพุทธรูปประจำวัน
บทที่ 3 พุทธบริษัท  
บทที่ 4 ชาดก  
บทที่ 5 หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา  
บทที่ 6 หน้าที่ชาวพุทธ  
บทที่ 7 วันสำคัญทางพุทธศาสนา  
บทที่ 8 การบริหารจิตและการเจริญปัญญา  
ชาติกำเนิด ถวายพระนาม ศึกษาเล่าเรียน อภิเษกสมรส ออกบรรพชา
บำเพ็ญทุกรกิริยา ตรัสรู้ ประกาศศาสนา

พระพุทธเจ้า พระนามเดิมว่า "สิทธัตถะ" เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายา แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ พระองค์ทรงถือกำเนิดในศากยวงค์ สกุลโคตมะ พระองค์ประสูติ ในวันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ( เดือนวิสาขะ ) ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี ณ สวนลุมพินีวัน ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ กับกรุงเทวทหะ แคว้นโกลิยะ ( ปัจจุบันคือตำบลรุมมินเด ประเทศเนปาล )
ราชวงศ์ของพระพุทธเจ้า
พระเจ้าโอกกากราชมีพระราชโอรส 4 พระองค์และมีพระราชธิดา 5 พระองค์ องค์โตเป็นราชธิดา ต่อมาพระมเหสีทิวงคต พระเจ้าโอกกากราชทรงมีพระมเหสีใหม่ 1 พระองค์ พระเจ้าโอกกากราชทรง ปลาบปลื้มพระราชหฤหัยมาก ถึงกับตรัสแก่มเหสีใหม่ว่า “ จะขอสิ่งใดก็ได้ จะพระราชทานให้ทุกอย่าง ” พระมเหสีใหม่จึงทูลขอพระราชสมบัติให้แก่ราชโอรสของ พระนาง พระเจ้าโอกกากราชทรงจำพระทัยให้โอรสและธิดาทั้ง 9 พระองค์ พากันอพยพ ไปสร้างนครอยู่ใหม่ โดยไปพบดินแดนในดงไม้สักกะเชิงเขาหิมาลัย ซึ่งดงไม้นี้เป็นที่อยู่ของฤษีกปิละจึงพากันสร้างนครขึ้น ในที่นั้น เรียกว่า “นครกบิลพัสด์ ” เรียกแคว้นว่า “ สักกะ ”
ครั้นสร้างนครเสร็จแล้ว พระราชโอรสพระราชธิดาทั้งหลายเว้นพระพี่นาง ต่างพากันอภิเษกสมรสในระหว่างพี่ ๆ น้อง ๆ กันเอง โดยตั้งราชวงศ์ใหม่ขึ้นเรียกว่า
“ ศากยวงศ์ ”ส่วนพระพี่นางต่อมาได้อภิเษกสมรสกับกษัตริย์ เทวทหะ แล้วตั้งโกลิยะวงศขึ้น กษัตริย์ทั้งสองแคว้นนี้สืบเชื้อสายติดต่อกันเรื่อยมาตามลำดับได้หลายบริสยุคจนกระทั่งถึงยุคที่พระเจ้าชัยเสนะครองนครกบิลพัสดุ์ และพระเจ้าอัญชนะครองนครเทวทหะ
ต่อมาพระเจ้าชัยเสนะมีโอรสชื่อ “
สีหนุ” ราชธิดาชื่อ “ยโสธรา” เจ้าชายสีหนุได้อภิเษกสมรสกับพระนางกัญจนาซึ่งเป็นเชษฐภคินีของพระเจ้าอัญชนะ ส่วนเจ้าหญิงยโสธราก็ได้อภิเษกสมรสกับพระเจ้าอัญชนะ เมื่อพระเจ้าชัยเสนะสวรรคตแล้ว เจ้าชายสีหนุก็ขึ้นครองราชสมบัติแทน มีพระราชโอรส 6 พระองค์และพระ-ราชธิดาอีก 1 พระองค์ องค์โตทรงพระนามว่า “สุทโธทนะ” ราชธิดาองค์เล็กชื่อ “อมิตา”
ฝ่ายพระเจ้าอัญชนะมีพระราชโอรสและพระราชธิดากับพระนางยโสธรา 4 พระองค์ องค์ใหญ่ชื่อ
“สุปปพุทะ” ราชธิดาองค์พี่ชื่อ “สิริมหามายา” องค์น้องชื่อ “ปชาบดี” หลังจากที่พระเจ้าสีหนุสวรรคตแล้ว

พระเจ้าสุทโธทนะก็ได้ขึ้นครองราชสมบัติในนครกบิลพัสดุ์ และได้อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงสิริมหามายา
ฝ่ายพระนางสิริมหามายา ครั้นทรงพระครรภ์แก่ ครบกำหนดพระประสูติกาล พระนางจึงเสด็จไปนครเทวทหะ เพื่อประสูติตามโบราณประเพณีที่ถือกันในยุคนั้นว่า สตรีที่มีครรภ์แก่ต้องไปคลอดบุตรใน สกุลเดิม ครั้นเดินทางไปถึงตำบลลุมพินีวันเขตดินแดนติดต่อระหว่างนครกบิลพัสดุ์กับเทวทหะ พระนางประชวรพระครรภ์ได้ประสูติพระราชโอรส ณ สถานที่นั้น เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ก่อน พ.ศ. 80 ปี ( เป็นปีอัญชันศักราชปีที่ 68 อัญชันศักราชนี้ พระเจ้าอัญชนะทรงตั้งขึ้นเริ่มใช้ก่อน พ.ศ. 1 นับถอยหลังไป 147 ปี ) ตรงกับวันศุกร์  ขึ้น 15 ค่ำ เดือนหก ปีจอ เมื่อพระเจ้าสุทโธทนะทรงทราบว่าพระมเหสีได้ประสูติโอรสแล้ว จึงตรัสสั่งให้อัญเชิญกลับพระนครโดยด่วน
Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@gmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th